|
ค่า Extra Settings ในหน้านี้ สำหรับโมเด็มรุ่นนี้เท่านั้น อาจใช้ไม่ได้กับโมเด็มยี่ห้ออื่น หรือรุ่นอื่นแม้จะเป็นของ 3Com เหมือนกัน หากคุณไม่ได้ใช้โมเด็มรุ่นนี้ ลองศึกษาคู่มือซึ่งน่าจะอยู่ในแผ่นซีดีที่มากับโมเด็มของคุณ
Extra Settings คือ อะไรหากคุณ install โมเด็ม และไดรฟเวอร์ราบรื่นดีแล้ว โดยปกติคุณไม่จำเป็นต้องใส่ initialization string หรือ extra settings ในการต่อโดยใช้ Dial-up Networking (DUN) เพราะไดรฟเวอร์ของโมเด็ม จริงๆ แล้วก็คือ initialization string ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับโมเด็มรุ่นนั้นๆ และน่าจะช่วยให้คุณต่อได้ความเร็วดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หลังจากที่คุณติดตั้งโมเด็ม ค่านี้จะอยู่ใน Registry ของวินโดวส์ และทุกครั้งที่คุณใช้ DUN มันจะถูกนำมาใช้โดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องเพิ่มเติมอะไรทั้งสิ้น หากคุณต้องการดูค่าดังกล่าว ลองสั่งให้โมเด็มบันทึก log การต่อ (ดู การสั่งให้โมเด็มบันทึกคำสั่งไว้ใน .log file ขณะที่ connect ) ในหัวข้อ วิเคราะห์ แล้วเปิด log ดูภายหลังการต่อ ทำไมต้องใส่ extra settingsอย่างไรก็ตาม หากเราต้องการเปลี่ยนแปลงค่าบางอย่างให้เหมาะกับการใช้งานมากขึ้น หรือแก้ป้ญหา วินโดวส์มีวิธีที่จะให้เราใส่ค่าเหล่านี้เพิ่มเติม โดยมันจะ override หรือทับค่าเดิม (ในกรณีที่ค่าซ้ำกัน) ค่าที่เพิ่มเข้าไปใหม่นี้เรียกว่า extra settings และสามารถพิมพ์เพิ่มเติมเข้าไปได้โดยคลิก ให้ไปที่ Start Menu/Settings/Control Panel แล้วเลือก Modem/General/Properties ต่อจากนั้น เลือก Connections/Advanced พิมพ์คำสั่งที่ต้องการลงไปในช่อง Extra Settings แล้วคลิก OK ดังภาพ สำหรับโมเด็มรุ่นนี้ มีปัญหาดังที่ทราบกันอยู่เรื่อง redial ได้ไม่เกิน 3 ครั้ง เราจึงจำเป็นต้องใส่ extra settings เพิ่มเข้าไปเพื่อแก้ปัญหานี้ (ดู การแก้ปัญหา ) นอกจากนี้ หากคุณไม่พอใจค่าที่โมเด็มใช้อยู่ คุณยังอาจเปลี่ยนค่าบางอย่างได้ โดยเพิ่มเข้าไปใน extra settings จะใช้ตัวเล็กหรือตัวใหญ่ก็ได้ แต่ควรจะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง หากมีมากกว่า 1 ค่า สามารถพิมพ์ต่อกันไปได้โดยไม่ต้องเว้นวรรค และจะเรียงลำดับอย่างไรก็ได้ เช่น S40=7L3M2S10=7 ตัวอย่างข้างบนนี้ ประกอบด้วย 4 คำสั่งด้วยกัน คือ
*หมายเหตุ
ค่า default หมายถึงค่ามาตรฐานที่โมเด็มใช้เมื่อเราไม่ได้ใส่ extra settings อะไรเลย
คำสั่งที่ใช้ได้ใน extra settingsมีคำสั่งมากมายที่คุณสามารถใช้ได้ใน extra settings ศึกษาได้จาก คู่มืออ้างอิงทางเทคนิค ในที่นี้จะขอยกมาเฉพาะค่าที่น่าสนใจ และสามารถใช้ได้โดยไม่น่าจะทำให้มีปัญหาดังนี้ (แทนค่า n ด้วยตัวเลขในช่อง "ตัวเลือก" เช่น L2, M3, S10=20 ฯลฯ) หากคุณไม่ได้ใช้โมเด็มรุ่นนี้ ลองศึกษาจากคู่มือที่มากับโมเด็มของคุณ (ปกติจะอยู่ในแผ่นซีดี) หรือถ้าหาไม่ได้จริงๆ ลองดูที่เวบไซต์ของผู้ผลิตโมเด็มของคุณ โดยค้นรายชื่อได้ที่ Modemhelp.Org
*
โมดูเลชั่น (Modulation)
คือ รูปแบบที่โมเด็มใช้ในการแปลงสัญญาณดิจิตัลเป็นอนาล็อก และกลับกัน เป็นที่มาของคำว่า Modem (MOdulator/DEModulator) มาตรฐานปัจจุบันที่ใช้กันแพร่หลายมีดังนี้
*หมายเหตุ
1. ค่า default คือ ตัวหนา 2. คำสั่งเหล่านี้สำหรับโมเด็มรุ่นนี้เท่านั้น อาจใช้ไม่ได้ผลถ้านำไปใช้กับโมเด็มรุ่นอื่นๆ แม้จะเป็นของ U.S. Robotics เหมือนกันก็ตาม 3. นิยามโมดูเลชั่นต่างๆ เรียบเรียงจากข้อมูลที่ Modem 56K Central
การจำกัดความเร็วของโมเด็มเราสามารถใช้ Extra Settings เพื่อจำกัดความเร็วของโมเด็มให้อยู่ ณ ระดับความเร็วหนึ่ง หรือในย่านความเร็วบางระดับได้ สาเหตุที่ต้องมีการจำกัดความเร็วนั้น ส่วนใหญ่มีอยู่ 2 ประการ ดังนี้
ข้อควรระวัง ในการใช้คำสั่งต่อไปนี้ ถ้าโมเด็มไม่สามารถต่อกับปลายทางได้ ณ ความเร็ว หรือในย่านความเร็วที่คุณกำหนด มันจะตัดสาย แล้วพยายาม redial ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ความเร็วตามที่กำหนด จึงค่อนข้างจะเปลืองค่าโทรศัพท์สักหน่อย คำสั่งที่ใช้ในการจำกัดความเร็วของโมเด็มรุ่นนี้ คือ &Un และ &Nn โดย n คือ ตัวเลขตั้งแต่ 0-39 ค่า &U เป็นการจำกัดความเร็วต่ำสุด และค่า &N เป็นการจำกัดความเร็วสูงสุด แทนค่า n ด้วยตัวเลขหน้าเครื่องหมาย = ในตารางต่อไปนี้ โดยเลือกระดับความเร็วตามที่ต้องการ
หมายเหตุ
* ค่า default
ตัวอย่าง
|
First created 11/28/1999